หน้าแรก > ข้อมูล > รายละเอียดข่าว
FUND FLOW ยังอยู่ในทิศทางที่ไหลออก เงินบาทอ่อนค่าแรง
2022-06-24 11:10:04
more 
578

ความคาดหวังที่จะเห็น Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอัตรา 0.75% ในการ ประชุมรอบ 27 ก.ค.65 มีเพิ่มมากขึ้น โดย Fed Watch Tool ล่าสุดให้ความน่าจะ เป็นสูงถึง 90.9% ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการตีความถ้อยแถลงของประธาน Fed ที่ยืนยันความจำเป็นในการต้องกดอัตราเงินเฟ้อให้ลดลง แม้จะทำให้เศรษฐกิจ ชะลอตัว ทิศทางด้งกล่าวของ Fed ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อในบ้านเราที่มี แนวโน้มสูงขึ้น โดยอาจแตะระดับ 10% YoY ได้ในเดือน ส.ค.65 จะเป็นตัวเร่งให้ กนง. ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่เพิ่มขึ้น เบื้องต้นฝ่ายวิจัยประเมินว่าอาจเห็น การปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในการรอบการประชุมที่เหลือของปีนี้ทั้ง 3 รอบ ซึ่งจะ ทำให้ดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 2565 ของบ้านเราปรับขึ้นไปที่ 1.25% แต่หาก เทียบกับของสหรัฐฯ แล้วยังต่ำกว่าราว 2% เป็นแรงผลักให้Fund Flow ไหลออก คาด SET Index ผันผวนกรอบ 1545 – 1570 จุด พอร์ตจำลองวันนี้ ไม่มีการ เปลี่ยนแปลง โดยให้ถือถือเงินสดสำรองที่ระดับ 25% รอจังหวะซื้อในระยะต่อไป หุ้น Top Pick เลือก CPF, CRC และ OSP

FED ให้น้ำหนักกับการลดเงินเฟ้อ แม้เสี่ยง RECESSION

Jerome Powell แถลงต่อ สส. ว่ามันเป็นสิ่งที่ยากมากที่จะขึ้นดอกเบี้ยแล้วไม่กระทบ ตลาดแรงงาน อัตราการว่างงานสหรัฐกำลังจะปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง (Unemployment Rate ล่าสุดอยู่ที่ 3.6%) และยอมรับว่า FED ไม่ได้มีเครื่องมือที่จะแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อได้ ตรงจุด (เพราะปัญหาหลักใหญ่ๆ คือราคาน้ำมันและอาหารที่ปรับตัวขึ้นจากสงคราม ยูเครน-รัสเซีย) ทำให้การทำ Soft Landing เริ่มยากขึ้นทุกวัน ซึ่งสอดคล้องกับการขึ้น ดอกเบี้ยในอนาคต โดยดูที่ FED Watch Tool จะเห็นได้ว่าตลาดคาดเห็นการปรับขึ้น ดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนหน้า ตามด้วยขึ้น 0.50% ในเดือนกันยายน และมองดอกเบี้ย ปลายปีที่ระดับ 3.5%-3.75%

ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐเองก็ดูไม่ดีนัก โดยจำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงาน ลดลง 2,000 ราย สู่ระดับ 229,000 ราย ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 18 มิ.ย. แต่ยังสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ คาดการณ์ไว้ที่ 227,000 ราย ซึ่งอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน ขณะที่ดัชนี (PMI) ภาค การผลิตสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 52.4 ในเดือนมิ.ย. ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 56 จุด ซึ่ง ต้องดูท่าทีของ FED ในการประชุม FED Minutes วันที่ 7 กค 65 ว่าจะมีทิศทางของ ดอกเบี้ยในอนาคตเป็นเช่นไร

สรุป FED ส่งสัญญาณที่จะใช้นโยบายการเงินเชิงรุกต่อไป เพื่อแก้ไขเงินเฟ้อให้อยู่ใน ระดับต่ำ ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Recession ในอนาคต คาดกดดันให้ สินทรัพย์เสี่ยงแกว่งตัวผันผวนต่อไป

เงินบาทอ่อนค่าแรง และคาดอ่อนค่ากว่านี้หาก SPREAD ดอกเบี้ยไทยสหรัฐฯ ห่างมากขึ้น

ค่าเงินบาทไทยยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องเป็นวันที่ 10 โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.51 บาทต่อดอลล่าร์ แล้ว หรือทำสถิติสูงกว่า 35.5 บาทเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี (นับตั้งแต่ปี 2017)และหาก ค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อจนดีดทะลุ 36.4 บาทต่อดอลล่าร์ไปได้ (หรืออ่อนค่าไปอีก 2%) ทำให้ ค่าเงินบาทอ่อนค่าที่สุดในรอบ 16 ปี (ซึ่งนักลงทุนสามารถอ่านบทวิเคราะห์หุ้นที่ได้ ประโยชน์บาทอ่อนในช่วงนี้ได้ในบทวิเคราะห์ Market Talk ประจำวันที่ 23 มิ.ย. 65)

เหตุผลหลักที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าก็เป็นเพราะนโยายการเงินของไทยที่ยังคงดอกเบี้ย อยู่ที่ 0.5% ทำให้ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศสหรัฐที่ทาง FED ทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ย อย่างต่อเนื่องจนขึ้นไปที่ระดับ 1.75% แล้ว จนอาจเป็นเหตุที่ทำให้เงินไหลออกจาก ประเทศ ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นเดือน Flow ต่างชาติไหลออกทั้งตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ กว่า 3.1 หมื่นล้านบาท และ 3.9 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ในช่วงปลายเดือน ก.ค. 65 ตลาดคาดว่า Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% มาอยู่ที่ 2.5%(ตามหัวข้อด้านบน) ส่งผลให้ Spread ดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐกว้างถึง 2% (ประชุม กนง.ครั้งถัดไป 10 สค 65) กดดันเงินบาทอ่อนค่า และเม็ดเงินไหลออกจากตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง

สรุป Spread ดอกเบี้ยไทย-สหรัฐฯ ที่ห่างกันมากขึ้นในอนาคต กดดันให้เงินบาทอ่อน ค่า และ Flow ต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นไทย โดยมองภาพ SET Index ระยะกลางยาวอยู่ใน Trend ขาลง ขณะที่วันนี้คาดแกว่งในกรอบ 1545-1570 จุด

สคบ. ยังไม่ได้ข้อสรุปเพดานดอกเบี้ยเช่าซื้อ…ผ่อนคลายแรงกดดันหุ้น กลุ่มเช่าซื้อ

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ยังไม่ได้ข้อสรุปเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อ เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ จึงจะกลับไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และนัดประชุมใหม่อีกครั้ง โดย ปัจจุบันมีความเห็นตรงกันในการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์ใหม่ที่ 15% รถยนต์ใช้แล้วที่ 20% ส่วนรถจักยานยนต์ยังเห็นต่างกัน โดยสคบ. ต้องการกำหนดที่ 26% (เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 20%) แต่ผู้ประกอบการต้องการที่ 30%

ฝ่ายวิจัยประเมินว่าหากสคบ. กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ที่ 26% จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์เป็นหลัก (แต่ก็ถือว่ากระทบน้อย กว่าเดิมที่สคบ. ต้องการกำหนดเพดานดอกเบี้ยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ที่ 20%) อาทิ TK และ S11 เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันคิดอัตราดอกเบี้ยที่ราว 30-35% สูงกว่าเพดานที่สคบ. ต้องการกำหนดที่ 26%

ขณะที่ผู้ประกอบการในกลุ่มจำนำทะเบียนจะกระทบ SAWAD บ้าง โดย SAWAD มีสัดส่วน สินเชื่อจากธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ราว 20% ของสินเชื่อสุทธิ และคิดอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อเช่าซื้อเฉลี่ยราว 30% โดยฝ่ายวิจัยได้ทำ Sensitivity หากเพดานอัตราดอกเบี้ยเช่า ซื้อลดลงมาที่ 26% โดยสมมติฐานอื่นไม่เปลี่ยนแปลง จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มกำไรสุทธิ ปี 2566 ของ SAWAD ราว 6% จากประมาณการปัจจุบัน ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินว่า SAWAD สามารถปรับกลยุทธ์ โดยการปรับเพิ่มเงินดาวน์จากลูกค้า ปรับเพิ่มรายได้ ค่าธรรมเนียม หรือสามารถปรับกลยุทธ์มาใช้สัญญาสินเชื่อนาโน (เพดานอัตราดอกเบี้ย 33%) ควบคู่กันไปด้วยได้

ส่วน MTC และ TIDLOR ไม่กระทบ เพราะ MTC คิดดอกเบี้ยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ราว 23% ต่ำกว่าแนวโน้มเพดานใหม่ที่ 26% อยู่แล้ว และ TIDLOR ไม่มีสินเชื่อเช่าซื้อ รถจักรยานยนต์

ฝ่ายวิจัยคงน้ำหนักการลงทุนกลุ่มเช่าซื้อ เท่าตลาด โดยประเมินว่าประเด็นดังกล่าวถือ เป็นการผ่อนคลายแรงกดดันต่อกลุ่มผู้ประกอบการเช่าซื้อ หลังจากที่ราคาหุ้นปรับฐาน ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนหน้า จึงมีแนวโน้มที่ราคาหุ้นจะฟื้นตัว แนะนำซื้อ MTC (FV@B52) SAWAD (FV@B60) และ TIDLOR (FV@B42)

ค้นหาหุ้น OUTPERFORM ในช่วงนี้ แนะหุ้น ANTI-COMMODITY, เกราะ ป้องกันเงินเฟ้อ, เปิดเมือง

การเร่งขึ้นดอกเบี้ยแรงในเดือนนี้ของ Fed 0.75% กดดันให้ Real Yield (Bond Yield 10Y – คาดการณ์เงินเฟ้อ 5 ปี) พลิกกลับขึ้นมาเป็นบวกอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับสถิติในอดีต คือ เวลาที่ Real Yield ยืนในแดนบวก มักกดดันให้ราคา Commodity ต่างๆ ปรับตัวลดลง ในช่วงเวลาต่อมาเสมอ

ขณะที่ตลาดหุ้นไทยถูกดดันเช่นกันทั้งจาก Spread ดอกเบี้ยไทยสหรัฐที่ห่างกันมากขึ้น กดดันให้ค่าเงินบาทอ่อน (ล่าสุดอยู่ที่ 35.5 บาท/เหรียญ) และ Fund Flow มีโอกาสไหล ออกหุ้นไทย (ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 3.1 หมื่นล้านบาท mtd) รวมถึงราคา Commodity ที่มีโอกาสย่อตัวลงในช่วงถัดไป ซึ่งหุ้นไทยประกอบไปด้วยหุ้น Commodity ถึง 1 ใน 3 ส่วน ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนในช่วงนี้ และปรับฐานลงมาแรงถึง -6.4%mtd

ดังนั้นฝ่ายวิจัยได้ทำการศึกษา ในช่วงที่ราคา Commodity ต่างๆ ถูกดดัน หรือช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา (10 – 23 มิ.ย. 65) พบว่า ราคา BCOM Index (Commodity ต่างๆทั้ว โลก 23 ชนิด) ปรับตัวลดลง 11% และในช่วงเวลาเดียวกัน SET Index ปรับตัวลดลงมา - 5.1% แต่ยังมีหุ้นที่ Outperform ตลาดได้อยู่ โดยสังเกตจากหุ้นใน SET100 ที่ให้ ผลตอบแทน >= 0% ในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่า สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้ ดังนี้

1. หุ้น Anti-Commodity KEX BGRIM CBG GPSC SCC TASCO

2. หุ้นมีเกราะป้องกันเงินเฟ้อ ได้ประโยชน์ดอกเบี้ยขาขึ้น BLA TRUE DTAC

3. หุ้นเปิดเมือง MAJOR CENTEL AOT (BK:AOT) VGI

จากตารางข้างต้น ฝ่ายวิจัยชื่นชอบ KEX, CKP, MAJOR, CBG, TRUE, CENTEL, DTAC, GPSC, SCC เป็นต้น

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำหุ้นมีเกราะป้องกันเงินเฟ้อ ต้นทุนจาก Commodity ลดลง อย่าง OSP และหุ้นเปิดเมืองสัดส่วนหนี้สินต่อทุนต่ำ CRC และหุ้น ได้ประโยชน์บาทอ่อน CPF เป็น Top pick

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

คำสั่ง:
เนื้อหาของบทความนี้ไม่ได้แสดงถึงมุมมองของเว็บไซต์ FxGecko เนื้อหามีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยง เลือกอย่างระมัดระวัง! หากมีปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ลิขสิทธิ์ ฯลฯ โปรดติดต่อเราและเราจะทำการปรับเปลี่ยนโดยเร็วที่สุด!

บทความที่เกี่ยวข้อง

您正在访问的是FxGecko网站。 FxGecko互联网及其移动端产品是中国香港特别行政区成立的Hitorank Co.,LIMITED旗下运营和管理的一款面向全球发行的企业资讯査询工具。

您的IP为 中国大陆地区,抱歉的通知您,不能为您提供查询服务,还请谅解。请遵守当地地法律。