หน้าแรก > ข้อมูล > รายละเอียดข่าว
ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 34.18 เคลื่อนไหวสอดคล้องภูมิภาคหลังดอลลาร์แข็งค่า โดย InfoQuest
2023-04-01 01:10:07
more 
867

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทช่วงเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.18 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.15 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.02-34.19 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทวันนี้อ่อนค่าตามทิศทางของสกุลเงินใน ภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับทุกสกุล หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับคืนนี้ ต้องติดตามการรายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนก.พ. ของสหรัฐ ซึ่งเป็นตัว เลขสำคัญที่ธนาคารสหรัฐ (เฟด) ใช้ดูเรื่องเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี ในสัปดาห์หน้า มีปัจจัยในประเทศที่ต้องติดตาม คือ ตัวเลขเงินเฟ้อของไทยเดือนมี.ค. ว่าจะเห็นทิศทางการ ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก.พ.หรือไม่ นักบริหารเงิน คาดว่า ต้นสัปดาห์หน้า เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.05 - 34.35 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 34.1290 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 133.48 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 133.45 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0890 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0909 ดอลลาร์/ยูโร - ธนาคารโลก คงคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ ไว้ที่ 3.6% โดยแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับอานิสงส์ จากการเปิดประเทศของจีน และการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัว แต่ทั้งนี้มองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังช้าเมื่อเทียบกับประเทศใน อาเซียน ขณะที่คาดว่าการส่งออกปีนี้ จะหดตัว 1.8% จากผลของเศรษฐกิจโลกชะลอตัว - ธนาคารโลก ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2567 จะเติบโตได้ราว 3.7% อัตราเงินเฟ้อ อยู่ที่ 1.3% ดุลบัญชีเดินสะพัด เกิน ดุล 1.8% ของจีดีพี ส่วนปี 2568 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ราว 3.5% อัตราเงินเฟ้อ อยู่ที่ 1.0% ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 2.4% ของจีดีพี - ธปท. เผยภาวะเศรษฐกิจไทยก.พ.66 ปรับตัวดีขึ้นในทุกองค์ประกอบ ทั้งการส่งออกสินค้า การบริโภคภาคเอกชน ตลอด จนกิจกรรมในภาคบริการที่ฟื้นตัวต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับลดลง และคาดว่ากิจกรรมทาง เศรษฐกิจในเดือนมี.ค. ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง - ธปท. แนะติดตามปัจจัยเสี่ยงในระยะต่อไปที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจไทย คือ 1.แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและปัญหาสถาบันการ เงินในสหรัฐและยุโรป 2.ผลของการเปิดประเทศ และการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน 3.การส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการที่อาจเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค - คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐได้เรียกร้องให้หน่วยงานกำกับดูแลภาคธนาคารใช้กฎระเบียบที่เข้มงวด มากขึ้นกับธนาคารขนาดกลาง โดยระบุว่าอาจมีการผลักดันกฎระเบียบดังกล่าวให้มีผลบังคับใช้โดยไม่ต้องผ่านการสนับสนุนจากสภาคองเกรส - รมว.คลังสหรัฐ ระบุ กฎระเบียบด้านการควบคุมและกำกับดูแลภาคธนาคารของสหรัฐ จำเป็นต้องได้รับการประเมินใหม่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่ากฎระเบียบเหล่านี้จะสามารถป้องกันความเสี่ยงในระบบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้ หลังจากการล้มละลายของธนาคาร ซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) และซิกเนเจอร์ แบงก์ (SB) - สัปดาห์หน้า สหรัฐฯ มีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต และ ภาคบริการเดือนมี.ค., ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนมี.ค., ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนก.พ. และจำนวนผู้ขอ รับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

คำสั่ง:
เนื้อหาของบทความนี้ไม่ได้แสดงถึงมุมมองของเว็บไซต์ FxGecko เนื้อหามีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยง เลือกอย่างระมัดระวัง! หากมีปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ลิขสิทธิ์ ฯลฯ โปรดติดต่อเราและเราจะทำการปรับเปลี่ยนโดยเร็วที่สุด!

บทความที่เกี่ยวข้อง

您正在访问的是FxGecko网站。 FxGecko互联网及其移动端产品是中国香港特别行政区成立的Hitorank Co.,LIMITED旗下运营和管理的一款面向全球发行的企业资讯査询工具。

您的IP为 中国大陆地区,抱歉的通知您,不能为您提供查询服务,还请谅解。请遵守当地地法律。