จับตาการประชุม ECB และ BOJ พร้อมลุ้นรายงานผลประกอบการบริษัทเทคฯ ใหญ่
2022-10-25 10:15:05
more 
324
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา รายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาดีกว่าคาดและมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เริ่มคาดหวังว่าเฟดอาจชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยได้ช่วยหนุนให้ตลาดอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง
  • ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตา การประชุมธนาคารกลางหลักสำคัญ อาทิ ECB และ BOJ รวมถึง รายงานผลประกอบการบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะบริษัทเทคฯ ใหญ่ อย่าง Alphabet, Amazon และ Meta

  • ควรระวังความผิดหวังของผู้เล่นในตลาดต่อรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทเทคฯ ใหญ่ ที่อาจกดดันให้ตลาดการเงินกลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงได้ นอกจากนี้ ผลการประชุมของธนาคารกลางหลักทั้ง ECB และ BOJ ก็อาจส่งผลให้ตลาดค่าเงินผันผวนขึ้นและทั้งสกุลเงินยูโร (EUR) และเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) อาจอ่อนค่าลง หากทั้งสองธนาคารกลางไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด ส่วนเงินบาทจะยังแกว่งตัว Sideways โดยมีแนวต้านสำคัญที่ 38.50 บาทต่อดอลลาร์ นอกจากนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำ รวมถึงฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ที่จะส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ได้

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    37.80-38.50
    บาท/

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

  • ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดประเมินว่า ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจสะท้อนภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ โดย S&P Global (Manufacturing & Services PMIs) ในเดือนตุลาคม ที่ออกมาแย่กว่าคาด โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 49.9 จุด และ 46.6 จุด ตามลำดับ (ดัชนีน้อยกว่า 50 หมายถึง ภาวะหดตัว) กดดันโดยภาวะเงินเฟ้อสูง การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกและสหรัฐฯ รวมถึงผลกระทบจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด นอกจากนี้ ตลาดยังมองว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สำรวจโดย Conference Board (Consumer Confidence) จะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 105.5 จุด ตามแรงกดดันของภาวะเงินเฟ้อสูง ที่ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของชาวอเมริกัน รวมถึงผลกระทบของการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด อย่างไรก็ดี แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดจะสะท้อนการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากขึ้น ทว่า อัตราเงินเฟ้อ PCE ซึ่งเป็นข้อมูลเงินเฟ้อที่เฟดจับตาอย่างใกล้ชิดจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยตลาดคาดว่า เงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ในเดือนกันยายนจะเร่งขึ้นแตะระดับ 5.2% ทำให้เฟดยังไม่สามารถส่งสัญญาณชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยได้ในระยะสั้น และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะบรรดาบริษัทขนาดใหญ่ อาทิ Alphabet, Amazon, Meta, Microsoft และ Visa โดยหากรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาด ก็อาจพอช่วยพยุงบรรยากาศการลงทุนในตลาดการเงินให้อยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงต่อเนื่องได้

  • ฝั่งยุโรป – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่การประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยตลาดมองว่า แรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์จะทำให้ ECB ตัดสินใจเร่งขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง +0.75% สู่ระดับ 1.50% (Deposit Facility Rate) อย่างไรก็ดี ECB อาจไม่ได้ส่งสัญญาณเดินหน้าเร่งขึ้นดอกเบี้ยที่ชัดเจนและย้ำมุมมอง “Data Dependent” ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดยังมีมุมมองเชิงลบต่อค่าเงินยูโร (EUR) กดดันให้เงินยูโรมีแนวโน้มผันผวนในฝั่งอ่อนค่าได้ นอกจากนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนีที่ไม่สดใสจะยิ่งกดดันให้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี (IFO Business Climate) ในเดือนตุลาคม ปรับตัวลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 83.5 จุด ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อสูง แนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) รวมถึงความเสี่ยงวิกฤตพลังงานยุโรป อนึ่ง ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาทิศทางนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลอังกฤษที่เพิ่งเสร็จสิ้นการคัดเลือกผู้นำพรรค Conservative และ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งก็คือ นาย Rishi Sunak อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเคยทำงานในตลาดการเงินทั้งในฝั่ง Investment Bank และ Hedge Fund

  • ฝั่งเอเชีย – ตลาดจะรอจับตาการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) หลังจากที่ BOJ ได้เข้าแทรกแซงตลาดค่าเงิน เพื่อชะลอการอ่อนค่าของเงินเยน (JPY) ในช่วงที่ผ่านมา แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการหยุดไม่ให้เงินเยนอ่อนค่าลงต่อเนื่อง เนื่องจากผู้เล่นในตลาดยังคงมองว่า BOJ จะเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.10% และเดินหน้านโยบาย QQE ด้วยการตรึงบอนด์ยีลด์ 10 ปี ญี่ปุ่นให้ไม่เกินระดับ 0.25% ไปมาก ทำให้ในระยะสั้น เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ยังมีโอกาสอ่อนค่าลงต่อได้ จนกว่า BOJ จะเริ่มส่งสัญญาณปรับนโยบายการเงิน หรือ ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจญี่ปุ่นดีขึ้นชัดเจนหลังการเดินหน้าเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

  • ฝั่งไทย – ตลาดประเมินว่า ผลกระทบของการชะลอตัวเศรษฐกิจโลกจะกดดันให้ยอดการส่งออกของไทยโตเพียง +4.4%y/y ในขณะที่ยอดการนำเข้ายังคงอยู่ในระดับสูงและขยายตัวกว่า +20%y/y ทำให้โดยรวมดุลการค้าในเดือนกันยายนจะยังคงขาดดุลราว -2.6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งหากดุลการค้าขาดดุลกว่าคาดและยังมีทิศทางขาดดุลต่อเนื่องก็อาจกดดันการฟื้นตัวของดุลบัญชีเดินสะพัด แม้จะเริ่มมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้นก็ตาม ทำให้เงินบาทอาจไม่สามารถแข็งค่าขึ้นไปได้มากในปีนี้

Statement:
The content of this article does not represent the views of fxgecko website. The content is for reference only and does not constitute investment suggestions. Investment is risky, so you should be careful in your choice! If it involves content, copyright and other issues, please contact us and we will make adjustments at the first time!

Related News

您正在访问的是FxGecko网站。 FxGecko互联网及其移动端产品是中国香港特别行政区成立的Hitorank Co.,LIMITED旗下运营和管理的一款面向全球发行的企业资讯査询工具。

您的IP为 中国大陆地区,抱歉的通知您,不能为您提供查询服务,还请谅解。请遵守当地地法律。